เปิดอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ประกาศใหม่ ผ่อนได้ 3 เดือน

สรุปประกาศขยายเวลาจ่ายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างและลดอัตราการจ่าย 90 % จากเดิมเม.. เป็น มิ.. ผ่อนจ่ายได้ 3 เดือน
เพื่อไม่ให้กระทบสิทธิของผู้เสียภาษี และกระบวนการจัดเก็บรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  จึงมีการเลื่อนเงื่อนเวลาการชำระภาษี ดังนี้

  • การประกาศราคาประเมินทุนทรัพย์ของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง อัตราภาษีที่จัดเก็บ และรายละเอียดอื่นที่จำเป็นในการจัดเก็บภาษี โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ระยะเวลาตามกฎหมาย ก่อนวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 เลื่อนเป็น ก่อนวันที่ 1 เมษายน 2564

  • การแจ้งการประเมินภาษีโดยส่งแบบประเมินภาษีให้แก่ผู้เสียภาษี โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ระยะเวลาตามกฎหมาย ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 เลื่อนเป็น ภายในเดือนเมษายน 2564

  • การผ่อนชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยผู้มีหน้าที่เสียภาษี ระยะเวลาตามกฎหมาย
    1.งวดที่หนึ่ง ภายในเดือนเมษายน 2564
    2.งวดที่สอง ภายในเดือนพฤษภาคม 2564
    3.งวดที่สาม ภายในเดือนมิถุนายน 2564

    โดยเลื่อนเป็น
    1.งวดที่หนึ่ง ภายในเดือนมิถุนายน 2564
    2.งวดที่สอง ภายในเดือนกรกฎาคม 2564
    3.งวดที่สาม ภายในเดือนสิงหาคม 2564

  • การมีหนังสือแจ้งเตือนผู้เสียภาษีที่มีภาษีค้างชำระ โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ระยะเวลาตามกฎหมาย ภายในเดือนพฤษภาคม 2564 เลื่อนเป็น ภายในเดือนกรกฎาคม 2564

  • การแจ้งรายการภาษีค้างชำระให้สำนักงานที่ดิน หรือสำนักงานที่ดินสาขา โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ระยะเวลาตามกฎหมาย ภายในเดือนมิถุนายน 2564 เลื่อนเป็น ภายในเดือนสิงหาคม 2564

ประเภทที่ดินตามกฏหมาย ที่ต้องจ่ายภาษี มีดังนี้

  • ที่อยู่อาศัย ถือเป็นที่ดินใช้ประโยชน์ ผู้เสียภาษีคือเจ้าของบ้านหลังหลักคือผู้ที่มีชื่อบนโฉนดและทะเบียนบ้าน โดยไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าบ้าน ส่วนบ้านหลังอื่นๆ ใช้ชื่อเจ้าของบ้านที่มีชื่อในโฉนด แต่ไม่มีชื่อในทะเบียนบ้านก็ได้

  • ที่อยู่อาศัยสำหรับใช้ประโยชน์อื่นๆ กรณีเป็นอาคารที่ใช้ประโยชน์อื่นๆ ได้แก่ พาณิชยกรรม, อุตสาหกรรม, อาคารสำนักงาน, โรงแรม, ร้านอาหาร ฯลฯ

  • ที่ดินรกร้าง ไม่ได้ใช้ประโยชน์ กรณีเป็นที่ดินที่ทิ้งรกร้างว่างเปล่า ไม่ได้ใช้ทำประโยชน์ในปีก่อนหน้า ยกเว้นว่าจะมีกฎหมายห้ามหรือให้ทิ้งไว้เพื่อการเกษตร หรือปล่อยไว้เพื่อใช้ในการพัฒนาโครงการ

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ปี 2564

อัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างสำหรับบ้านพักและที่อยู่อาศัย มีอัตราเพดานอยู่ที่ 0.3% พื้นที่เกษตรกรรมมีอัตราเพดานจัดเก็บ 0.15% และพื้นที่รกร้างมีอัตราเพดานอยู่ที่ 1.2% โดยมีอัตราจัดเก็บ ดังนี้

  • ที่ดินเกษตรกรรม
    มูลค่า 0-75 ล้านบาท อัตราภาษี 0.01
    มูลค่า 75-100 ล้านบาท อัตราภาษี 0.03
    มูลค่า 100-500 ล้านบาท อัตราภาษี 0.05
    มูลค่า 500-1,000 ล้านบาท อัตราภาษี 0.07
    มูลค่า 1,000 ล้านบาทขึ้นไป อัตราภาษี 0.01

  • บุคคลธรรมดาได้รับยกเว้น อปท. ละไม่เกิน 50 ล้านบาท และมีภาระภาษีดังนี้
    มูลค่า 50 ล้านบาท ค่าภาษี 0 บาท
    มูลค่า 100 ล้านบาท ค่าภาษี 5,000 บาท
    มูลค่า 200 ล้านบาท ค่าภาษี 40,000 บาท

  • บ้านหลังหลัก
    มูลค่า 0-10 ล้านบาท ได้รับการยกเว้นภาษี
    10-50 ล้านบาท อัตราภาษี 0.02
    50-75 ล้านบาท อัตราภาษี 0.03
    75-100 ล้านบาท อัตราภาษี 0.05
    100 ล้านบาทขึ้นไป อัตราภาษี 0.1

  • บ้านหลังหลัก และที่ดิน
    มูลค่า 0-10 ล้านบาท ได้รับการยกเว้นภาษี
    10-50 ล้านบาท ได้รับการยกเว้นภาษี
    50-75 ล้านบาท อัตราภาษี 0.03
    75-100 ล้านบาท อัตราภาษี 0.05
    100 ล้านบาทขึ้นไป อัตราภาษี 0.1

  • บ้านหลังอื่นๆ
    มูลค่า 0-10 ล้านบาท อัตราภาษี 0.02
    10-50 ล้านบาท อัตราภาษี 0.02
    50-75 ล้านบาท อัตราภาษี 0.03
    75-100 ล้านบาท อัตราภาษี 0.05
    100 ล้านบาทขึ้นไป อัตราภาษี 0.1

  • ภาระภาษี บ้านหลังหลัก
    มูลค่า 50 ล้านบาท ภาระภาษี 0 บาท
    100 ล้านบาท ภาระภาษี 20,000 บาท
    200 ล้านบาท ภาระภาษี 120,000 บาท

  • ภาระภาษี บ้านหลังอื่น ๆ
    มูลค่า 50 ล้านบาท ภาระภาษี 10,000 บาท
    100 ล้านบาท ภาระภาษี 30,000 บาท
    200 ล้านบาท ภาระภาษี 130,000 บาท

  • ภาระภาษี บ้านหลังอื่นๆ
    มูลค่า 50 ล้านบาท ภาระภาษี 10,000 บาท
    100 ล้านบาท ภาระภาษี 30,000 บาท
    200 ล้านบาท ภาระภาษี 130,000 บาท

  • อัตราภาษี ที่รกร้างว่างเปล่าและอื่นๆ
    มูลค่า 0-50 ล้านบาท อัตราภาษี 0.3
    50-200 ล้านบาท อัตราภาษี 0.4
    200-1,000 ล้านบาท อัตราภาษี 0.5
    1,000-5,000 ล้านบาท อัตราภาษี 0.6
    5,000 ล้านบาทขึ้นไป อัตราภาษี 0.7

  • ภาระภาษี ที่รกร้างว่างเปล่าและอื่นๆ
    มูลค่า 50 ล้านบาท ภาระภาษี 150,000 บาท
    100 ล้านบาท ภาระภาษี 350,000 บาท
    200 ล้านบาท ภาระภาษี 750,000 บาท
    1,000 ล้านบาท ภาระภาษี 4,750,000 บาท

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ